Latest media :
รายการสื่อ ล่าสุด

รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 2/2565

 

Download :    รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 2/2565 (PDF 2.68 MB)

ชื่อหนังสือ :  รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 2/2565

ประเภท : รายงาน / กศ.พื้นฐาน

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากร กศน. / หน่วยงาน สถานศึกษา กศน.

ขนาดรูปเล่ม :  A4

จำนวนหน้า :  108 หน้า (รวมปก)

ปีที่พิมพ์ :  มิถุนายน 2566

ความเป็นมา / สาระสำคัญ 
รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร ครู นักวิชาการศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้ใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

รายงานฉบับนี้ได้สรุปภาพรวมการดำเนินการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนจากสนามสอบของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. ประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนสั่งพิมพ์ข้อสอบ ร้อยละผู้เข้าสอบของสถานศึกษา และผู้สอบผ่านร้อยละ 30 ของคะแนนเต็ม ของสถานศึกษา สำนักงาน กศน.จังหวัดในเขตภาคเหนือ ข้อมูลด้านสถานที่จัดสอบ ด้านกรรมการกลาง ด้านกรรมการกำกับห้องสอบ ด้านผู้เข้าสอบ ด้านห้องสอบ ด้านแบบทดสอบ และด้านการดำเนินการสอบ พร้อมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่น ๆ

รายงานผลการอบรมครู ศศช. ปี 2565

Downloadรายงานผลการอบรมครู ศศช. ปี 2565 (PDF 6.50 MB)

ชื่อหนังสือ  : รายงานผลการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ตามโครงการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2565

ประเภท : รายงาน 

กลุ่มเป้าหมาย : ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” 

ผู้เขียน/เรียบเรียง :  
อรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ  สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
เวชยันต์ วงค์ลอดแก้ว ครูผู้ช่วย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2565

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 106 หน้า (รวมปก)

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ
รายงานผลการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ฉบับนี้ เป็นการรายงานผลการจัดอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ตามโครงการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2565 ซึ่งสถาบัน กศน. ภาคเหนือ ได้มีการพัฒนาหลักสูตรการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ขึ้น เพื่อใช้อบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ที่ปฏิบัติงานใหม่ และไม่เคยได้รับการอบรมหลักสูตรนี้มาก่อน โดยใช้รูปแบบการพัฒนาที่หลากหลายทั้งการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากการเข้ารับการอบรมในรูปแบบ On-Site เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงภาคสนาม และเรียนรู้จากกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ด้วยการเข้ารับการสัมมนา โดยมีระยะเวลาการพัฒนาตามหลักสูตร จำนวน 70 ชั่วโมง ประกอบด้วย การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง จำนวน 9 ชั่วโมง การเข้ารับการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 24 ชั่วโมง การฝึกประสบการณ์ในพื้นที่ (ลงพื้นที่ปฏิบัติจริง) จำนวน 25 ชั่วโมง และการสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการนำความรู้ไปใช้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC จำนวน 12 ชั่วโมง ทั้งนี้ สถาบัน กศน. ภาคเหนือ ได้มีการติดตามการนำความรู้ไปใช้ของผู้จบหลักสูตรทั้งการสอบถามผู้จบหลักสูตร ผ่าน Google Form และการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง

สถาบัน กศน. ภาคเหนือ หวังว่าเอกสารรายงานผลฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู สถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อพัฒนางาน กศน. ต่อไป

ขอบข่ายเนื้อหา
ความเป็นมา
วัตถุประสงค์
กลุ่มเป้าหมาย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีดำเนินการ
ผลการอบรม
สรุปผลการอบรม

แนวทางการดำเนินงาน โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ

 

Download :    แนวทางการดำเนินงาน โครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ (PDF 63.5 MB)

ประเภท : แนวทางการดำเนินงาน คู่มือ

กลุ่มเป้าหมาย : กศน. ในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย 9 จังหวัด ในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ ที่เข้าร่วมโครงการทุนฯ 

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง: ศิลปการพิมพ์ 

เดือน/ปีที่พิมพ์ : กันยายน 2565

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า :  104 หน้า (รวมปก)

เขียน/เรียบเรียง :  คณะกรรมการยกร่างแนวทางการดำเนินงานโครงการฯ

รวบรวม : นายอธิวัฒน์ ทิพย์จักร์ ครูผู้ช่วย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ
สถาบัน กศน.ภาคเหนือร่วมกับสำนักงาน กศน.จังหวัดในพื้นที่โครงการ จัดทำเอกสารแนวทางการดำเนินงานโครงการทุนการศึกษาเด็กสภาวะยากลำบากในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือ ซึ่งเอกสารแนวทางเล่มนี้ ได้รวบรวมบทบาทหน้าที่และแนวทางปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบในทุกระดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หน่วยงาน/สถานศึกษา ในพื้นที่เป้าหมายใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันขอบข่าย

เนื้อหา
ตอนที่ 1 บทนำ
ตอนที่ 2 บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 3 แนวทางการดำเนินงาน
ตอนที่ 4 แนวทางการบริหารจัดการ

รายงานการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารประจำปี 2565



ประเภท : รายงานการประชุม

กลุ่มเป้าหมาย : ครูและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทรงงานและพื้นที่สูง

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง: ศิลปการพิมพ์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2565

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 136 หน้า (รวมปก)

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีต่องานการศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมกับโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้จัดงานประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ขึ้น ระหว่างวันที่ 24 – 25 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ธีมงาน “ 41 ปี ด้วยพระเมตตาแห่งการศึกษา พัฒนาวิชาการ – จริยธรรม งาน กพด. “โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาในระบบและนอกระบบให้เป็นที่ประจักษ์ตลอดจนเพื่อพัฒนาครูและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ทรงงานและพื้นที่สูงให้เกิดแนวคิดและการเรียนรู้กระบวนการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบข่ายเนื้อหา
ส่วนที่ 1 บทนำ
ส่วนที่ 2 วิธีดำเนินการ
ส่วนที่ 3 สรุปผลการดำเนินงาน
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ภาคผนวก

ผู้เขียน/เรียบเรียง : 
นายธนากร หน่อแก้ว ครูชำนาญการ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
นางสาวภัทร์ศยา ฉาบกังวาน นักวิชการศึกษาปฏิบัติการ สำนักงาน กศน.

เอกสารประกอบการอบรม ครู ศศช. “แม่ฟ้าหลวง” ปี 2565


ชื่อหนังสือ : เอกสารประกอบการอบรม ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2565

ผู้เขียน : 
ศุภกร ศรีศักดา  
สมชาย เด็ดขาด 
ชนะ เปรมปรี
รสาพร หม้อศรีใจ
ธนากร หน่อแก้ว
เกรียงไกร เอี่ยมกระสินธ์

รวมรวบ/จัดทำรูปเล่ม  เวชยันต์ วงค์ลอดแก้ว ครูผู้ช่วย สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

ประเภท : เอกสารประกอบการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย : ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง”

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

เดือน/ปีที่พิมพ์ : ตุลาคม พ.ศ. 2565

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 147 หน้า (รวมปก)

รูปแบบ/ขนาดไฟล์ : PDF 7.0 MB

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ได้จัดอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา ”แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ตามโครงการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2565 ซึ่งสถาบัน กศน. ภาคเหนือ ได้จัดทำเอกสารสื่อประกอบการอบรม เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยรวบรวมเนื้อหาในการอบรมจากคณะวิทยากรใช้ประกอบการอบรมครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ก่อนการปฏิบัติงาน ประจำปี 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูได้ศึกษา เรียนรู้จากเอกสารประกอบการอบรมและสามารถนำไปประกอบใช้ในการปฏิบัติงานของครูในพื้นที่ปฏิบัติงานต่อไป

ขอบข่ายเนื้อหา
บทที่ 1 การจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
บทที่ 2 การบริหารจัดการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
บทที่ 3 ความเป็นครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
บทที่ 4 บทบาทในการจัดการศึกษาของ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง”(ศศช.)
บทที่ 5 ความรู้และทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
บทที่ 6 การจัดทำแผนงานโครงการในการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง
บทที่ 7 การสัมมนาก่อนจบหลักสูตร

รายงานการประเมินตนเอง สถาบัน กศน. ภาคเหนือ 2565

 

Download: รายงานการประเมินตนเอง สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ปีงบประมาณ 2565 (PDF 5.57 MB)

ชื่อหนังสือ: รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report) สถาบัน กศน.ภาคเหนือ ปีงบประมาณ 2565

ประเภท: รายงาน

กลุ่มเป้าหมาย: ครู และบุคลากร สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

สถานที่พิมพ์: ลำปาง: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

เดือน/ปีที่พิมพ์: ตุลาคม 2565

ขนาดรูปเล่ม: A4

จำนวนหน้า: 198 หน้า (รวมปก)

ประเภท/ขนาดไฟล์: PDF 5.57 MB

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ:
ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้สถานศึกษาแต่ละแห่งต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับ แต่ละประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด

เพื่อเป็นการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงดังกล่าวข้างต้น สถาบัน กศน.ภาคเหนือ จึงได้ดำเนินการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยวิเคราะห์จากแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีร่วมกับผลการดำเนินงานของสถานศึกษา จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมทั้งร่วมกันเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปีถัดไป โดยคณะกรรมการประเมินตนเองของสถานศึกษาได้ดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องตามสภาพจริงของสถานศึกษา เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาจัดส่งให้แก่หน่วยงานต้นสังกัด โดยเนื้อหาภายในเอกสารรายงานฉบับนี้ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ผลการประเมินด้านการจัดการศึกษาต่อเนื่อง การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย และการบริหารจัดการของสถานศึกษา สรุปผลการประเมินตนเอง และแนวทางพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา

ผู้เขียน/เรียบเรียง: คณะกรรมการประเมินตนเองของสถานศึกษา

บทเรียนการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ Co-Learning Space


Download : (6.36 MB) บทเรียนการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ  Co-Learning Space

ประเภท : เอกสารวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย : สถานศึกษา กศน./ครู บุคลากร กศน.

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง: สถาบัน กศน.ภาคเหนือ 

เดือน/ปีที่พิมพ์ : มีนาคม 2565  (จัดทำเฉพาะ PDF)

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 15 หน้า (รวมปก)

สาระสำคัญ/เนื้อหาโดยย่อ:
ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ (Co-Learning Space) นับเป็นโครงการที่มีความสำคัญ ต่อการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง โดยพัฒนาห้องสมุดประชาชนจังหวัดห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ (Co-Learning Space) ภายใต้นโยบายในการขับเคลื่อน กศน. สู่ กศน.WOW ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์) และเริ่มดำเนินการโครงการนำร่องเมื่อปีงบประมาณ 2563 ต่อมาในปีงบประมาณ 2564 ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการจังหวัดละ 1 แห่ง และดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2565 ดังนั้น ห้องสมุดประชาชน พื้นที่เป้าหมายในเขตภาคเหนือทั้ง 17 จังหวัด จึงได้นำประสบการณ์จากการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ซึ่งภายในเอกสารประกอบไปด้วยเนื้อหาความเป็นมาของโครงการ การดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ (Co-Learning Space) ด้านการเตรียมการ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้และการให้บริการ ความสำเร็จที่ปรากฏ กระบวนการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการพัฒนาในปี 2564

ผู้เขียน/เรียบเรียง
นางบุษบา มาลินีกุล 
นางณิชากร เมตาภรณ์ 
นางกรรณิการ์ ยศตื้อ
นางสาวสุมาลี อริยะสม 
นางสาววรรณกมล ฉันประเดิม 
นายเฉลิมพล อินต๊ะเสน


Powered by Blogger.
 
Copyright © 2014. NorthNFE-Media - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger