Download : คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน. (PDF 11.8 MB)
ชื่อหนังสือ : คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน.
ประเภท : คู่มือ
กลุ่มเป้าหมาย : ครู กศน.
ขนาดรูปเล่ม : A4
จำนวนหน้า : 196 หน้า ( 198 หน้า รวมปก)
ปีที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 360 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 2 กรกฎาคม 2560 จำนวน 500 เล่ม
ผู้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล/เขียน/เรียบเรียง
1. นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
2. นางรสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
3. นางพิมพรรณ ยอดคำ ข้าราชการบำนาญ
เนื้อหา/บทคัดย่อ
ในปีงบประมาณ 2560 สถาบัน กศน. ภาคเหนือ ได้จัดทำโครงการการพัฒนาคู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน. ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน. ทั้งนี้ เพื่อให้ครู กศน. ได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชน เช่น หลักสูตรรายวิชาเลือก หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง เป็นต้น โดยรายละเอียดของคู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน.ตำบล เล่มนี้ ได้เรียบเรียงเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน ด้วยความรู้เชิงวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ ครู กศน. ได้เรียนรู้ โดยแบ่งเนื้อหาสาระเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร
ตอนที่ 2 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ตอนที่ 3 การร่างหลักสูตร
ตอนที่ 4 การตรวจคุณภาพหลักสูตรก่อนนำไปใช้
สำหรับการนำเสนอเนื้อหาในคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฯ เล่มนี้ จะใช้ตัวอย่างของชุดข้อมูลในการอธิบายถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอย่างละเอียด ทั้งการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือก และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ที่ใช้ตัวอย่างของชุดข้อมูลเดียวกัน เพื่อการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือก รายวิชา การจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ จำนวน 2 หน่วยกิต ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรการจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ จำนวน 60 ชั่วโมง ดังนั้น ครู กศน. จึงต้องศึกษาเนื้อหาอย่างละเอียด และตามลำดับขั้นตอน เพื่อจะนำความรู้จากคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฯ เล่มนี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาต่อไป
สถาบัน กศน.ภาคเหนือ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการพัฒนาหลักสูตร สำหรับครู กศน. เล่มนี้ จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ครู กศน. ได้ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตร เพื่อนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของพื้นที่ และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและชุมชนต่อไป