Download : (PDF 2.94 MB)
ชื่อหนังสือ : รายงานการวิจัย การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer กรณีศึกษา กศน.อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ประเภท : เอกสารวิชาการ / รายงานการวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย : ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ขนาดรูปเล่ม : A4
จำนวนหน้า : 105 หน้า (รวมปก)
ปีที่พิมพ์ : 2561
บทคัดย่อ
หัวข้อวิจัย : การศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer
กรณีศึกษา : กศน.อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน : นางอรวรรณ ฟังเพราะ
สถานศึกษา : สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ
ที่ปรึกษา : นายจำเริญ มูลฟอง
ปีที่วิจัย : 2561
วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer วิธีดำเนินการศึกษา มีพื้นที่ดำเนินการศึกษา คือศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยพิจารณาจากความต้องการ ความสมัครใจ และความพร้อมและจุดเด่นของสถานศึกษาในการนำนโยบายเร่งด่วน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ โดยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง) ในการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านเกษตรกรรมที่ชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 24 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร กศน.อำเภอแม่วาง จำนวน 1 คน 2) ครู กศน. ที่จัดการเรียนการสอนรายวิชาข้าวโพดหวาน Smart Farm of Sunsweet (อช33387) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน 3) ภาคีเครือข่าย จำนวน 3 คน ได้แก่ ตัวแทนบริษัทซันสวีท จำกัด จำนวน 1 คนตัวแทนหน่วยงานด้านการเกษตรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกตามแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 1 คนภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกตามแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 1 คน และ4) ผู้เรียน กศน.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ลงทะเบียนเรียนแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวานในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมโดยใช้ประเด็นคำถามที่กำหนดไว้ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
กรณีศึกษา : กศน.อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน : นางอรวรรณ ฟังเพราะ
สถานศึกษา : สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ
ที่ปรึกษา : นายจำเริญ มูลฟอง
ปีที่วิจัย : 2561
วัตถุประสงค์ : การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer วิธีดำเนินการศึกษา มีพื้นที่ดำเนินการศึกษา คือศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยพิจารณาจากความต้องการ ความสมัครใจ และความพร้อมและจุดเด่นของสถานศึกษาในการนำนโยบายเร่งด่วน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ โดยส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง) ในการดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านเกษตรกรรมที่ชัดเจน และมีแนวโน้มที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 24 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร กศน.อำเภอแม่วาง จำนวน 1 คน 2) ครู กศน. ที่จัดการเรียนการสอนรายวิชาข้าวโพดหวาน Smart Farm of Sunsweet (อช33387) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 8 คน 3) ภาคีเครือข่าย จำนวน 3 คน ได้แก่ ตัวแทนบริษัทซันสวีท จำกัด จำนวน 1 คนตัวแทนหน่วยงานด้านการเกษตรที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกตามแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 1 คนภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกตามแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 1 คน และ4) ผู้เรียน กศน.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ลงทะเบียนเรียนแผนการเรียนรู้การปลูกข้าวโพดหวานในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 12 คนดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมโดยใช้ประเด็นคำถามที่กำหนดไว้ ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามนโยบายจัดการศึกษาของสำนักงาน กศน. ที่กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตรด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ โดยให้ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง)ทั้งนี้กศน.อำเภอแม่วางมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดหวานซึ่งข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้เกษตรกรผลิตข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพนำไปสู่การเพิ่มรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยพัฒนาหลักสูตรข้าวโพดหวาน ร่วมกับบริษัท ซันสวีท จำกัด ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่เกษตรอำเภอแม่วาง และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม ได้รับงบประมาณเป็นงบอุดหนุนและงบดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง จาก สำนักงานกศน.และบริษัทซันสวีทจำกัด สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์และวิทยากร ณ ศูนย์การเรียนรู้ KC Farm
สำหรับหลักสูตรรายวิชาข้าวโพดหวานนี้ กศน.อำเภอแม่วางได้กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560มีแนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ซึ่งได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยการอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู กศน. เรื่องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรีของโปรแกรมการเรียนรู้รายบุคคล หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2559) ดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโดยการแต่งตั้งคณะทำงานในการนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานจากการประชุมประจำสัปดาห์และประจำเดือน
ในส่วนแผนการเรียนรู้ข้าวโพดหวานทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยรายวิชาเลือก2รายวิชา ได้แก่ อช13182 การปลูกข้าวโพดหวานเบื้องต้น อช13181 การแปรรูปอาหารจากข้าวโพดหวานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วยรายวิชาเลือก3รายวิชา ได้แก่ อช23386 การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างอาชีพ อช23388 การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโพดหวาน และ อช23387 การแปรรูปข้าวโพดหวานเพื่อสุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยรายวิชาเลือก3รายวิชา ได้แก่ อช33536 การปลูกข้าวโพดหวานคุณภาพ อช33535 การทำปุ๋ย และ อช33387 ข้าวโพดหวาน Smart Farm Of Sunsweet โดยมี ครู กศน.เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้และมีวิทยากรจากบริษัท ซันสวีท จำกัด การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ณ ศูนย์การเรียนรู้ KC Farm อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่และเรียนรู้จากภูมิปัญญาด้านการเกษตร และมีเอกสารประกอบการบรรยาย สื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้ มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน สัดส่วน 60 : 40 โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย
จากผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer กรณีศึกษา : กศน.อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พอจะสรุปเป็นแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินงานจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) มาเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านหลักสูตรและเนื้อหา 3) ด้านผู้สอน 4) ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) ด้านการวัดผลและประเมินผล
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามนโยบายจัดการศึกษาของสำนักงาน กศน. ที่กำหนดนโยบายและจุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 นโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตรด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ โดยให้ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม (Smart Farmer : เกษตรกรปราดเปรื่อง)ทั้งนี้กศน.อำเภอแม่วางมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเกษตรกรในการปลูกข้าวโพดหวานซึ่งข้าวโพดหวานเป็นพืชเศรษฐกิจของพื้นที่ ให้เกษตรกรผลิตข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพนำไปสู่การเพิ่มรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยพัฒนาหลักสูตรข้าวโพดหวาน ร่วมกับบริษัท ซันสวีท จำกัด ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งสะโตก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่เกษตรอำเภอแม่วาง และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม ได้รับงบประมาณเป็นงบอุดหนุนและงบดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่อง จาก สำนักงานกศน.และบริษัทซันสวีทจำกัด สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ วัสดุ อุปกรณ์และวิทยากร ณ ศูนย์การเรียนรู้ KC Farm
สำหรับหลักสูตรรายวิชาข้าวโพดหวานนี้ กศน.อำเภอแม่วางได้กำหนดไว้ในแผนการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย และเปิดให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560มีแนวทางการวัดผลและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551ซึ่งได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรโดยการอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครู กศน. เรื่องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรีของโปรแกรมการเรียนรู้รายบุคคล หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2559) ดำเนินการนิเทศติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโดยการแต่งตั้งคณะทำงานในการนิเทศและติดตามผลการดำเนินงานจากการประชุมประจำสัปดาห์และประจำเดือน
ในส่วนแผนการเรียนรู้ข้าวโพดหวานทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา ประกอบด้วยรายวิชาเลือก2รายวิชา ได้แก่ อช13182 การปลูกข้าวโพดหวานเบื้องต้น อช13181 การแปรรูปอาหารจากข้าวโพดหวานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วยรายวิชาเลือก3รายวิชา ได้แก่ อช23386 การปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างอาชีพ อช23388 การป้องกันกำจัดศัตรูข้าวโพดหวาน และ อช23387 การแปรรูปข้าวโพดหวานเพื่อสุขภาพ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วยรายวิชาเลือก3รายวิชา ได้แก่ อช33536 การปลูกข้าวโพดหวานคุณภาพ อช33535 การทำปุ๋ย และ อช33387 ข้าวโพดหวาน Smart Farm Of Sunsweet โดยมี ครู กศน.เป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้และมีวิทยากรจากบริษัท ซันสวีท จำกัด การถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ณ ศูนย์การเรียนรู้ KC Farm อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่และเรียนรู้จากภูมิปัญญาด้านการเกษตร และมีเอกสารประกอบการบรรยาย สื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนรู้ มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนระหว่างภาคเรียนและปลายภาคเรียน สัดส่วน 60 : 40 โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย
จากผลการวิจัย เรื่อง การศึกษาแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer กรณีศึกษา : กศน.อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ พอจะสรุปเป็นแนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer เพื่อใช้เป็นแนวทางดำเนินงานจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ทฤษฎีระบบ (System Theory) มาเป็นกรอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมสู่ Smart Farmer ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านหลักสูตรและเนื้อหา 3) ด้านผู้สอน 4) ด้านวิธีการจัดการเรียนรู้ 5) ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6) ด้านการวัดผลและประเมินผล
ผู้เขียน : นางอรวรรณ ฟังเพราะ ครูชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ