Latest media :
รายการสื่อ ล่าสุด

รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 1/2566 สกร. ในเขตภาคเหนือ



Download :    รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 1/2566   ขนาด 3.57 MB

ชื่อหนังสือ :   รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ประเภท :    รายงาน

เขียน/เรียบเรียง :   ส่วนวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ

กลุ่มเป้าหมาย :    บุคลากร / หน่วยงาน สกร.

สถานที่พิมพ์ :   ลำปาง : สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ

พิมพ์ครั้งที่/เดือนปีที่พิมพ์ :   ครั้งที่ 1 มกราคม 2567 จำนวน 40 เล่ม

ขนาดรูปเล่ม/จำนวนหน้า :   A4 114 หน้า

ประเภท/ขนาดไฟล์ :     PDF 4.42 MB

บรรณนิทัศน์ 
รายงานผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อวิเคราะห์และสรุปผลคะแนนการจัดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียน ซึ่งจะเป็นข้อมูลสารสนเทศในการช่วยให้ผู้บริหาร ครู นักวิชาการศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ได้ใช้เป็นข้อมูลในการกระตุ้นผลักดันให้สถานศึกษา ดำเนินการบริหารจัดการศึกษา ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง”


Download :         รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง”  (PDF 20.5 MB)

ชื่อหนังสือ : รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กรณีศึกษา : ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ประเภท :   การวิจัยและพัฒนา, การศึกษาบนพื้นที่สูง

ผู้รวบรวม/เรียบเรียง :   เวชยันต์ วงค์ลอดแก้ว

บรรณาธิการ :     วราพรรณ พูลสวัสดิ์, อรวรรณ ฟังเพราะ, และสุมาลี อริยะสม 

กลุ่มเป้าหมาย :  บุคลากรกรมส่งเสริมการเรียนรู้ / ทั่วไป

สถานที่พิมพ์ :   ลำปาง : ศิลปการพิพม์

พิมพ์ครั้งที่/จำนวนพิมพ์ :   ครั้งที่ 1 กันยายน 2566  /  จำนวน 520 เล่ม

รูปเล่ม :    ขนาด A4 จำนวน 112 หน้า (124 หน้า รวมปก)

บรรณนิทัศน์ :
รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลผ้าทอกะเหรี่ยง และศึกษาแนวทาง
การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามพระราชกระแสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตาม
การดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
“แม่ฟ้าหลวง” บ้านเลอะกรา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยพระองค์ทรงมีพระกระแสให้สืบทอดภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ให้กับเด็กนักเรียน
 
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือเป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”  ในพื้นที่ดำเนินการ 3 แห่ง คือ
  1. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภออมอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยไก่ป่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านผาผึ้ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านเลอะกรา ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านฉุ้ยมอ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนอมแฮดนอก และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนอมแฮดใน
  2. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขนุน และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวง” บ้านกองสุม
  3. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านป้อหย่าลู่
สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ ร่วมกับครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” และผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยง สนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้นำชุมชน/ผู้สูงอายุในชุมชน และกลุ่มเด็กและเยาวชน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารรายงานฉบับนี้ขึ้น

รายงานการนิเทศงาน สกร.ในเขตภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2566



Download :        PDF 14.1 MB

PDF 14.1 MB

ชื่อหนังสือ :  รายงานสรุปผลการนิเทศงาน สกร.ในเขตภาคเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2566

ผู้เขียน/เรียบเรียง : ศึกษานิเทศก์และผู้ทำหน้าที่นิเทศ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ

ประเภท :  รายงานการปฏิบัติงาน สรุปผลการปฏิบัติงาน

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากร/หน่วยงาน สกร.

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง : สถาบัน สกร.ภาคเหนือ (จัดทำเฉพาะไฟล์ pdf)

พิมพ์ครั้งที่/เดือนปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 1 / กันยายน 2566

ขนาดรูปเล่ม/จำนวนหน้า : A4 (21 x 29.87 CM) 187 หน้า

ประเภท/ขนาดไฟล์ : PDF 14.1 MB

บรรณนิทัศน์ (เนื้อหาโดยย่อ)
สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ ร่วมกับศึกษานิเทศก์และผู้ทำหน้าที่นิเทศ ของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ ได้รวบรวมสรุปผลการนิเทศประจำปีงบประมาณ 2566 ในระดับภาค โดยรวบรวมคำแนะนำ การช่วยเหลือครู และผู้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ให้สามารถปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ และช่วยพัฒนาความสามารถของครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมถึงการกำกับ ติดตามการนำนโยบาย สู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม โดยสะท้อนภาพการดำเนินงานจุดเด่น ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ให้กับผู้บริหาร สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัดในแต่ละระดับ เพื่อนำสู่การแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตร การสร้างบนเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application



ชื่อหนังสือ : รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตร การสร้างบนเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application

ผู้เขียน/เรียบเรียง : สิริลักษณ์ เป็งคำ

ประเภท : รายงานการประเมินผล

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากร/หน่วยงาน สกร.

สถานที่พิมพ์ : ลำปาง : สถาบัน สกร.ภาคเหนือ (จัดทำเฉพาะไฟล์ pdf)

พิมพ์ครั้งที่/เดือนปีที่พิมพ์ : ครั้งที่ 1 / 2567

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 86 หน้า (รวมปก)

ประเภท/ขนาดไฟล์ : PDF  2.92 MB

บรรณนิทัศน์ (เนื้อหาโดยย่อ)
การประเมินผลการใช้หลักสูตรการสร้างบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Application ครั้งนี้ เป็นการประเมินโดยใช้รูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการพัฒนาต่อหลักสูตรการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application 3) ประเมินผลการนำความรู้และทักษะจากการพัฒนาตามหลักสูตรการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application ไปใช้ในการปฏิบัติงานของผู้ผ่านการพัฒนา 4) ประเมินผลกระทบจากการพัฒนาของผู้ผ่านการพัฒนาตามหลักสูตรการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ Google Application ที่มีต่อหน่วยงานและ/หรือสถานศึกษา

แนวทางการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ของ ศศช. ตาม พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566



Downloadไฟล์ PDF  ขนาด 3.51 MB

ชื่อหนังสือ : แนวทางการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (ศศช.) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

ประเภท : การศึกษาบนพื้นที่สูง

กลุ่มเป้าหมาย : ครู บุคลากร กรมส่งเสริมการเรียนรู้

ผู้เขียน/เรียบเรียง : ศุภกร ศรีศักดา

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 37 หน้า

ปีที่พิมพ์ : 2567

เนื้อหาโดยย่อ :
นายศุภกร ศรีศักดา อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีประสบการณ์ในการบริหารงานการจัดการศึกษาบนพื้นที่สูง ได้นำเสนอแนวทางการจัดการ ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยในเนื้อหาประกอบด้วย ข้อคำนึงและเป้าหมายตาม พรบ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ประเด็นพิจารณาจากข้อคำนึงและเป้าหมาย ขอบข่ายเนื้อหาที่ควรมีในการจัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ได้ให้ตัวอย่างในการจัดแผนงาน/โครงการสู่การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ใน ศศช. ที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อครูนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพของแต่ละหมู่บ้าน

รายงานการประเมินผลการใช้ระบบฐานข้อมูล DM-HACLC


Download  รายงานการประเมินผลการใช้ระบบโปรแกรมฐานข้อมูล DM-HACLC  (PDF 95.3 MB)

ชื่อหนังสือ  รายงานการประเมินผลการใช้ระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสารสนเทศศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (DM-HACLC)

กลุ่มเป้าหมาย  บุคลากร/หน่วยงาน สกร.

ผู้เขียน/เรียบเรียง  ธนากร หน่อแก้ว  

สถานที่พิมพ์  ลำปาง: แมคมีเดียแอนด์เอเจนซี่

ปีที่พิมพ์  พ.ศ. 2566

พิมพ์ครั้งที่  1

จำนวนหน้า  172 หน้า

ขนาดรูปเล่ม  A4 (21 ซม.)

เนื้อหาโดยย่อ
การประเมินผลการใช้ระบบฐานข้อมูลสารสนเทศศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” (Database System of Mae Fah Luang Hill Area Community Learning Center : DM-HACLC) บนเว็บไซต์ https://ศศช.com มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ประเมินประสิทธิภาพระบบ ประเมินผลการนำข้อมูลจากระบบไปใช้ของครูและผู้บริหารสถานศึกษา กศน. ประเมินผลที่เกิดขึ้นต่อผู้เรียนและสถานศึกษาจากการนำข้อมูลในระบบไปใช้ และศึกษาปัญหาอุปสรรคในการนำระบบจากข้อมูลไปใช้ เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาระบบโปรแกรม

Best Practice 2566 สกร. ในเขตภาคเหนือ



ชื่อหนังสือ :  Best Practice 2566 สกร. ในเขตภาคเหนือ

ประเภท : เอกสารวิชาการ / เอกสารการประชุมสัมมนา

กลุ่มเป้าหมาย : หน่วยงาน/บุคลากร สกร.

ขนาดรูปเล่ม : A4

จำนวนหน้า : 146 หน้า (รวมปก)

ปีที่พิมพ์ : 2566

ความเป็นมา / สาระสำคัญ 
เอกสารนำเสนอผลงานทางวิชาการและนวัตกรรมทางการศึกษา ที่เป็นผลมาจากการได้ลงมือปฏิบัติจริงของบุคลากรสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตภาคเหนือ  อีกทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะด้านการเขียน และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน โดยได้รวบรวมผลงาน Best Practice ของสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตภาคเหนือ ในปีงบประมาณ 2566 จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเผยแพร่ ในการสัมมนาเพื่อพัฒนางานวิชาการของหน่วยงานและสถานศึกษาสังกัดกรมส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 6-7 กรกฏาคม 2566 ณ สวนพฤกษศาสตร์ทวีชล อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่  

ภายในเอกสารประกอบด้วยผลงานแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ 3 ประเภท คือ
1) การเรียนรู้ตลอดชีวิต 10 เรื่อง
2) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง 9 เรื่อง
3) การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณวุฒิตามระดบ 10 เรื่อง
Powered by Blogger.
 
Copyright © 2014. NorthNFE-Media - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger