Latest media :

รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง”


Download :         รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง”  (PDF 20.5 MB)

ชื่อหนังสือ : รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กรณีศึกษา : ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

ประเภท :   การวิจัยและพัฒนา, การศึกษาบนพื้นที่สูง

ผู้รวบรวม/เรียบเรียง :   เวชยันต์ วงค์ลอดแก้ว

บรรณาธิการ :     วราพรรณ พูลสวัสดิ์, อรวรรณ ฟังเพราะ, และสุมาลี อริยะสม 

กลุ่มเป้าหมาย :  บุคลากรกรมส่งเสริมการเรียนรู้ / ทั่วไป

สถานที่พิมพ์ :   ลำปาง : ศิลปการพิพม์

พิมพ์ครั้งที่/จำนวนพิมพ์ :   ครั้งที่ 1 กันยายน 2566  /  จำนวน 520 เล่ม

รูปเล่ม :    ขนาด A4 จำนวน 112 หน้า (124 หน้า รวมปก)

บรรณนิทัศน์ :
รายงานการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในพื้นที่ดำเนินงานโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลผ้าทอกะเหรี่ยง และศึกษาแนวทาง
การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ตามพระราชกระแสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงติดตาม
การดำเนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ณ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา
“แม่ฟ้าหลวง” บ้านเลอะกรา อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยพระองค์ทรงมีพระกระแสให้สืบทอดภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ให้กับเด็กนักเรียน
 
กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงได้มอบหมายให้สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือเป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียนภูมิปัญญา “ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”  ในพื้นที่ดำเนินการ 3 แห่ง คือ
  1. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภออมอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยไก่ป่า ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านผาผึ้ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านเลอะกรา ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านฉุ้ยมอ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนอมแฮดนอก และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขุนอมแฮดใน
  2. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านขนุน และศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา“แม่ฟ้าหลวง” บ้านกองสุม
  3. ชุมชนบนพื้นที่สูงในอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ประกอบด้วย ชุมชนที่เป็นพื้นที่ตั้งของ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านป้อหย่าลู่
สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้ภาคเหนือ ร่วมกับครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” และผู้บริหารสถานศึกษา ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยง สนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มผู้นำชุมชน/ผู้สูงอายุในชุมชน และกลุ่มเด็กและเยาวชน นำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทำเอกสารรายงานฉบับนี้ขึ้น

Share this article :

New comments are not allowed.
 
Copyright © 2014. NorthNFE-Media - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger