Download : รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรีฯ (PDF 3.76 MB)
ชื่อหนังสือ : รายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน
กลุ่มเป้าหมาย :
ขนาดรูปเล่ม : A4
จำนวนหน้า : เอกสารชุดวิชา 89 หน้า (รวมปก)
ปีที่พิมพ์ : 2562
ผู้เขียน/เรียบเรียง
นางรสาพร หม้อศรีใจ ครู ชำนาญการพิเศษ สถาบัน กศน.ภาคเหนือ
เนื้อหาย่อ/บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้เป็นการรายงานการประเมินผลการใช้หลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปฏิกิริยา (Reaction) ของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน 2) ประเมินการเรียนรู้ (Learning) ของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน 3) ประเมินพฤติกรรม (Behavior) ของผู้เข้ารับการพัฒนาที่นำความรู้และทักษะจากการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนไปใช้ในการปฏิบัติงาน และ4) ประเมินผลลัพธ์ (Results) ของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนที่เกิดต่อองค์กร ดำเนินการประเมินโดยประยุกต์ใช้รูปแบบของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick Model)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนครั้งนี้ เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู และครู กศน. ของสถานศึกษาที่ส่งข้าราชการครูเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือก เสรีสำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 27 คน มีพื้นที่ดำเนินการศึกษา ได้แก่
1) กลุ่มศูนย์หล่ายดอย กศน.อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ 2) กลุ่มศูนย์อิงดอย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 3) กลุ่มศูนย์ห้าขุนศึก อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย และ4) กลุ่มศูนย์อู่ข้าวอู่น้ำ อำเภอ
ปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม บันทึกข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่ได้จาการสังเกต การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม พร้อมทั้งวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากข้อมูลที่ได้จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา ในการศึกษาครั้งนี้ดำเนินการประเมิน 4 ด้าน พบว่า ผลการประเมิน
ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
1) ด้านปฏิกิริยา (Reaction) ของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน ที่ศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดสี่ด้าน ได้แก่ ด้านวิทยากร ด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ ด้านหลักสูตรและด้านประโยชน์ที่ได้รับและระดับมากสองด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อมและด้านสื่อ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนในระดับมากขึ้นไป จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 100
2) ด้านการเรียนรู้ (Learning) ของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน ที่ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียน มีผู้ที่ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 100
3) ด้านพฤติกรรม (Behavior) ของผู้เข้ารับการพัฒนาที่นำความรู้และทักษะจากการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนไปใช้ในการปฏิบัติงาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการพัฒนาทุกคนนำความรู้และทักษะจากการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรีไปปรับปรุงและจัดทำหนังสือเรียน นำไปปรับใช้ในการจัดทำและแนะนำครู กศน.ในการจัดทำใบความรู้ ใบงานและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการจัดทำบทเรียนออนไลน์
4) ด้านผลลัพธ์ (Results) ที่เกิดต่อองค์กร ที่ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาของผู้เข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี สำหรับครูการศึกษานอกโรงเรียนที่มีต่อสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง พบว่า สถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องของสถานศึกษาทุกแห่งที่ส่งข้าราชการครูเข้ารับการพัฒนาได้รับประโยชน์ในด้านการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี
จากสรุปผลการอบรม เอกสารประกอบการอบรมตามหลักสูตรการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรี การวางแผนเพื่อยกร่างหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การทำสื่อ ใบความรู้รวมถึงส่งผลให้สถานศึกษามีแผนในการจัดทำหนังสือเรียนรายวิชาเลือกเสรีเพิ่มเติม การปรับปรุงหลักสูตรรายวิชาเสรี การพัฒนาบุคลากรในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเลือกเสรีและการจัดทำหนังสือเรียน โดยให้ข้าราชการครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ เมื่อนำผลการประเมินเทียบกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินที่กำหนดไว้ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน