รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญฯ




ชื่อหนังสือ : รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครู กศน. ในเขตภาคเหนือ  โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน

ประเภท : เอกสารวิชาการ
กลุ่มเป้าหมาย : ครูและบุคลากร กศน. / ทั่วไป

ขนาดรูปเล่ม : A4
จำนวนหน้า : บทคัดย่อ 3 หน้า   / รายงานการวิจัยฉบับเต็ม  ------ หน้า (รวมปก)
ปีที่พิมพ์ :  กันยายน  2558

ผู้เขียน/เรียบเรียง :  นางอรวรรณ ฟังเพราะ : ครูชำนาญการพิเศษ   สถาบัน กศน.ภาคเหนือ

บทคัดย่อ :

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของ ครู กศน.ในเขตภาคเหนือ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนไปปฏิบัติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน 5) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างครูแต่ละกลุ่มศูนย์ 6) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างผู้เรียนแต่ละกลุ่มศูนย์ และ 7) เปรียบเทียบความพึงพอใจของต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู ครูอาสาสมัครฯ ครู กศน.ตำบล และนักศึกษา กศน. ในเขตภาคเหนือ ผู้รายงานได้ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง จากข้าราชการครู ครูอาสาสมัครฯ ครู กศน.ตำบล และนักศึกษา กศน. ในเขตภาคเหนือ 4 กลุ่มศูนย์ๆ ละ 1 อำเภอ ๆ ละ 5 คน จำแนกออกเป็น 1) ข้าราชการครูหรือครูอาสาสมัครฯที่รับผิดชอบงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 คน และ 2) ครู กศน.ตำบล จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มศูนย์หล่ายดอย ได้แก่ กศน.อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จำนวน 5 คน 2) กลุ่มศูนย์อิงดอย ได้แก่ กศน.อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน 5 คน 3) กลุ่มศูนย์อู่ข้าวอู่น้ำ ได้แก่ กศน.อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร จำนวน 5 คน และ    4) กลุ่มศูนย์ห้าขุนศึก ได้แก่ กศน.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 คน และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ของ กศน.อำเภอที่ส่งครูเข้ารับการอบรมฯ จำนวน 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน โดยแยกเป็นระดับปฏิบัติ (ความคิดเห็นของครูต่อการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนไปปฏิบัติ) และระดับความพึงพอใจ (ความพึงพอใจของครูต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน) เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และปลายเปิด 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็นแบบมาตราประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และปลายเปิด และ 3) แบบสังเกตการจัดกระบวนกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็นแบบตรวจสอบรายการ (check-list)
           ผลการวิจัยพบว่า
  1.  ครูมีความคิดเห็นต่อการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย( ) 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.603
  2. ครูมีความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย( ) 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.579
  3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย( ) 4.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.750
  4. ความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างครูแต่ละกลุ่มศูนย์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  5. ความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างผู้เรียนแต่ละกลุ่มศูนย์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  6. ความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในพื้นที่ทดลอง 4 แห่ง ได้แก่ 1) กลุ่มศูนย์หล่ายดอย กศน.อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง  2) กลุ่มศูนย์อิงดอย กศน.อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3) กลุ่มศูนย์ห้าขุนศึก กศน.อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ และ    4) กลุ่มศูนย์อู่ข้าวอู่น้ำ กศน.อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร โดยใช้แบบสังเกตการจัดกระบวนกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เป็นแบบตรวจสอบรายการ (check-list) พบว่า ครูส่วนใหญ่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ครบขั้นตอนกระบวนการของการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน นอกจากนี้ยังพบว่า ครูและผู้เรียนส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและต้องการให้นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนไปใช้ในรายวิชาอื่น ๆ อีกด้วย

Share this article :
 
Copyright © 2014. NorthNFE-Media - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger